2628 จำนวนผู้เข้าชม |
เคส หงส์ที่ โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท - iVET hospital
อายุ 8 เดือน จำนวน 2 ตัวเข้ามาทำการตรวจรักษา เจ้าของแจ้งว่าที่ฝ่าเท้ามีลักษณะเป็นก้อนแข็งและมันดูจะใหญ่กว่าเดิมมาก เบื้องต้นหมอเลยตรวจดู เบื้องต้นไม่พบการติดเชื้อแต่บริเวณก้อนที่ฝ่าเท้ามีลักษณะเป็นไตแข็งๆ และมีสะเก็ดแผลสีดำ พูดถึงตรงนี้แล้วเลยอยากจะเล่าถึงโรคโรคนึงที่เราพบได้บ่อยในสัตว์ปีกที่ถูกเลี้ยงในที่กักขัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม waterfowl
โรค Bumble foot ( Pododermatitis )
โรคนี้กลไกการเกิดคือการที่ตัวสัตว์เดินอยู่บนพื้นที่ที่แข็งและขรุขระเป็นเวลานาน โดยเริ่มแรกจะเกิดเป็นแผลขนาดเล็กที่ฝ่าเท้าก่อนและมีการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Staphylocoocus aureus จนพัฒนาไปสู่อาการอักเสบและบวม เมื่อเป็นเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษานานก็จะกลายเป็นผังผืดที่มีลักษณะแข็ง การป้องกัน ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษาแต่เนิ่นๆจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้เลี้ยง
ปัจจัยที่เป็นตัวสนับสนุนให้เกิดโรค:
- กิจกรรมที่มากเกินไปของสัตว์ จากพฤติการเช่นโดนคุกคามจากตัวอื่น หรือการป้องกันตัวเอง
- สภาพแวดล้อมที่อยู่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
- น้ำหนักส่วนเกินที่มากไป
- การผิดปกติของเท้าอยู่แล้วเช่น กระดูกหัก หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
- ความอ่อนแอและไม่ได้สมดุลของผิวหนัง เช่น เปียกหรือแห้งจนเกินไป
- โภชนาการที่ไม่ได้สัดส่วน หรือ ขาดสารอาหารและวิตามิน
อาการ:
- ผิวหนังบริเวณที่เป็นจะมีลักษณะมันเงา ลอก หรือมีสีเปลี่ยนไป
- เป็นแผลหลุม
- เกิดสะเก็ดเนื้อตายลักษณะคล้ายจุกปิดอยู่บริเวณก้อน
- มีเนื้อเยื่ออักเสบ บวม
- เจ็บเท้า ไม่อยากขยับเขยื้อน
- ซึมและกินอาหารลดลง
- พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
การรักษา:
- ป้องกันการติดเชื้อโดยให้อยู่ในที่ที่สะอาดและแห้ง
- ลดแรงกดที่เท้าโดยให้อยู่ในพื้นที่ที่นิ่ม อาจมีการทำรองเท้าให้ใส่ หรือใช้เทคนิคการพันแผลเพื่อลดการกดทับ
- ขูดลอกเนื้อเยื่อที่ตายออกบ่อยๆเพื่อช่วยให้กระบวนการหายของแผลเป็นไปได้ดีขึ้น
- การพันเท้า
- เสริมโภชนาการโดยเฉพาะ วิตามินA
- ปรับเปลี่ยนการจัดการที่จะช่วยลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค
วิธีรักษา:
- แช่เท้าด้วย epsom salt 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 8 ลิตร ทุกวันเป็นเวลา 30 นาที
- ยาที่ใช้ทาบริเวณแผล จะมีส่วนประกอบของ
1. Chloramphenicol ointment
2. DMSO ointment
3. Dexamethasone creame
4. Fusidate sodium ointment
- การผ่าตัด
- การเสริม vitaminA
- การฝังเข็ม
- การใช้เลเซอร์
การป้องกัน :
- ความสะอาดและสุขลักษณะของที่อยู่อาศัย
- พื้นไม่ควรแข็งหรือหยาบจนเกินไป
- ออกแบบที่อยู่อาศัยให้มีการระบายของน้ำที่ดีป้องกันน้ำขังและเกิดบ่ิอโคลน
- สัดส่วนอาหารที่สมดุลและต้องมั่นใจว่าสัตว์ได้รับวิตามินAเพียงพอ
- ให้สัตว์ได้ว่ายน้ำทุกวัน จึงควรมีสระที่ใหญ่เพียงพอ
- จัดหาวัสดุรองพื้นที่เหมาะสม ที่จะช่วยดระจายแรงกดบริเวณเท้า
ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก คุณหมอ หมู Kritchai chatcharoensuk