2216 จำนวนผู้เข้าชม |
เรื่องเล่า…จากหมอไอเว็ท
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับน้องนกสายพันธุ์ #Cockatiel วัย 6 เดือน ชื่อ ‘คุกกี้’ เจ้าของรีบพามาหาคุณหมอ เนื่องจาก น้องคุกกี้ กลืนท่อไส้ไก่ที่ไว้สำหรับป้อนอาหารลูกนกลงท้อง โชคดีที่ท่อไส้ไก่มีขนาดใหญ่และเป็นยาง
.
ท่อไส้ไก่ที่เป็นยางจะมีขนาดอ่อนนุ่ม รวมถึงเจ้าของพึ่งป้อนอาหารให้ น้องคุกกี้ ไปไม่มาก ทำให้ทางคุณหมอสามารถนำออกมาได้ง่าย โดยวิธีจับคลำและดันท่อไส้ไก่ออกมาทางปาก และนัดติดตามอาการของ น้องคุกกี้ ในครั้งต่อไป ซึ่งพอ น้องคุกกี้ กลับบ้าน อาการของน้องก็ดีขึ้น และทานอาหารได้ปกติ
.
จริง ๆ แล้ว วิธีการช่วยชีวิตลูกนกในเหตุการณ์แบบนี้ สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุด้วยว่ามีขนาดเท่าไร เช่น ถ้าสิ่งแปลกปลอมนั่นมีขนาดใหญ่หรือลูกนกกลืนเข้าไปไม่ลึก ก็สามารถคลำและดันออกมาทางปากได้เลย หรืออาจจะมีการส่องกล่องและคีบสิ่งนั้นออกมา
.
หรือถ้าสิ่งแปลกปลอมมีขนาดเล็กและกลืนลงท้องไปแล้ว ก็ต้องใช้วิธีผ่าตัด โดยวิธีทั้งหมดต้องคำนึงถึงสภาพร่างกายของตัวนกเอง หรือแม้แต่ปัจจัยอื่นร่วมด้วย เพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสมและปลอดภัยที่สุดสำหรับนกแต่ละตัวค่ะ
.
ซึ่งโดยส่วนใหญ่ที่คุณหมอจะเจอคือ ท่อไส้ไก่เกิดเสื่อมสภาพ ขาดง่ายหรือหลุดง่าย เพราะใช้มานาน โดยเฉพาะท่อไส้ไก่แบบยางนิ่ม ๆ ปลายของท่อไส้ไก่ที่เชื่อมกับตัวหลอดไซริงค์มีอาการหลวมหรือใส่ไม่แน่น ประกอบกับไม่มีตัวล็อกปลายไซริงค์ ทำให้บางครั้งเวลานกหรือลูกนกดูดอาหารจากท่อ มักจะดึงท่อไส้ไก่ติดไปด้วย
.
ซึ่งโอกาสส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับลูกป้อนสายพันธุ์ใหญ่ เช่น สายพันธุ์ #Macaw หรือเกิดขึ้นกับลูกนกที่เริ่มโตและจะงอยปากเริ่มคม มักจะกัดท่อขาดหรือดึงท่อหลุดได้ง่าย
.
จริง ๆ แล้ว สำหรับคนเลี้ยงนก ท่อไส้ไก่แบบยางถือเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมาก ๆ สำหรับลูกป้อน ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์สัตว์เลี้ยงทั่วไปและราคาถูก แต่ข้อเสียของมันคือ คุณภาพไม่ค่อยดี เสื่อมสภาพเร็วถ้าใช้บ่อย ๆ
.
ทางสัตวแพทย์ของโรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท จึงขอมาแนะนำท่อไส้ไก่อีกแบบที่มีคุณภาพมากกว่า และปลอดภัยกว่าค่ะ นั่นก็คือ
.
ท่อป้อนอาหาร ( Gavage feeding syringe ) ที่ทำมาจากโลหะปลายมน โดยมีคุณสมบัติแข็งแรงกว่า ทนทานกว่า เพราะทำมาจากโลหะ ไม่ขาดหรือหลุดออกจากปลายไซริงค์ได้ง่ายๆ หรือถึงแม้จะหลุดแต่ก็สามารถดึงออกมาจากปากลูกนกได้ง่ายเช่นกันค่ะ ตัวท่อไส้ไก่ตรงส่วนเกลียวจะล็อกกับปลายไซริงค์ จึงทำให้มีคุณสมบัติ ป้องกันการหลุดออกของท่อป้อนอาหาร
.
หรืออีกวิธีง่าย ๆ คือ การป้อนโดยการใช้เพียงแค่ไซริงค์ทั่วไป ดูดอาหารแล้วค่อย ๆ ป้อนโดยตรง ซึ่งเจ้าของต้องเลือกขนาดไซริงค์ให้เหมาะกับลูกนก รวมถึงคำนวณปริมาณอาหารด้วย ถึงแม้ในช่วงแรกจะป้อนได้ช้า และลำบากกว่าวิธีการอื่น แต่ถ้าฝึกลูกนกก็สามารถป้อนได้เร็วขึ้นเช่นกันค่ะ
#โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท #iVEThospital #โรงพยาบาลสัตว์24ชั่วโมง
----------------------------
โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท เปิดบริการ 24 ชม.
ตอบทุกปัญหาเรื่องสัตว์เลี้ยง..จากสัตวแพทย์โดยตรง
Line : @ivethospital >> http://bit.ly/2UHSsXK
Hotline : 085-244-7899
Website : www.ivethospital.com