น้องเต่าซูคาต้า อาการ ซึม ไม่ทานอาหาร

18978 จำนวนผู้เข้าชม  | 

น้องเต่าซูคาต้า  อาการ ซึม ไม่ทานอาหาร

“ เต่ากี๋ ” น้องเต่าซูคาต้า มาพบคุณหมอซี ที่คลินิกสัตว์เอ็กโซติก
น้องมาด้วยอาการ ซึม ไม่ทานอาหาร จากการสอบถาม ประวัติการเลี้ยง และการจัดการอาหารพบว่าเจ้าของมีการรับน้องมาเลี้ยงทันที โดยที่ยังไม่ได้มีการศึกษาวิธีการเลี้ยงเต่าซูคาต้าที่ถูกต้อง คุณหมอได้ให้คำแนะนำกับทางเจ้าของ และติดตามอาการเป็นเวลา 2 อาทิตย์ก็พบว่าน้องกลับมาร่าเริง และทานอาหารได้ตามปริมาณปกติตามที่น้องควรได้รับแล้วค่ะ
สำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่มีความสนใจรับเลี้ยงสัตว์พิเศษ ก่อนที่จะได้น้องๆในดวงใจมาเลี้ยง อยากให้เจ้าของทำความเข้าใจถึงข้อจำกัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น.. ในรูปแบบการเลี้ยง, อุปกรณ์การเลี้ยงดู และการจัดการต่างๆที่ต้องทำให้เขาเป็นพิเศษ เป็นการพิจารณาว่า สามารถดูแลน้องให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้หรือไม่ คุณหมอซีจึงมีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการเลือกอาหารที่เหมาะสมสำหรับเต่าซูคาต้ามาฝากกันค่ะ ไปดูกันเลย!!!
การเลือกอาหารให้กับเต่าบกซูคาต้า
o เต่าที่ถูกเลี้ยงหรือไม่ได้เลือกอาหารทานเอง ควรเลือกอาหารที่หลากหลาย เพื่อมั่นใจได้ว่าเต่าจะได้รับสารอาหารครบถ้วนและมีคุณภาพที่ดี เช่นผลและผลไม้ต้องปราศจากเชื้อรา และการเน่าเสีย ควรหลีกเลี่ยงพืชจำพวก Brassicacae ( พวกจำพวกผักกาด ) เช่น Broccoli ( บร็อคโคลี่ ) , Brussels sprouts ( กะหล่ำดาว) , Kale (ผักเคล) , Kohlrabi ( กระหล่ำปม ) , Mustard ( ผักกาดเขียว ) , Rutabagas ( หัวผักรูตาบากา) , Turnips ( หัวเทอร์นิพ) , collard greens ( กระหล่ำปลี ) เนื่องจากการให้ทานผักเหล่านี้จะทำให้มีผลการกระตุ้นให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนในร่ายกายต่ำได้ ซึ่งส่งผลให้ผลไม่สมดุลของ Ca:P ทำให้ Ca มากกว่า P มากได้
o การเลือกอาหารสำเร็จสำหรับเต่า แนะนำให้สังเกตส่วนประกอบของอาหาร สูตรของอาหารที่เหมาะสมกับชนิดหรือพันธุ์เต่าที่ทาน โดยสูตรอาหารที่ดีต้องมสารอาหารที่สมดุล เช่น สัดส่วน โปรตีน ใยอาหาร และวิตามิน ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็น โดยสามารถเลือกชนิดของอาหารให้เหมาะสมกับขนาดของเต่าและอาหารสำเร็จรูปส่วนใหญ่ มีสัดส่วน แคลเซียมและฟอสฟอรัสในสัดส่วน 1 : 1 ถึง 1 : 2 เพื่อประโยชน์ในการเจริญเติบโตของกระดูกต่างๆในร่างกาย // ข้อควรระวังในการเลือกอาหารสำเร็จรูป เนื่องจากสูตรอาหารบางยี่ห้อจะมีการเสริมวิตามิน หรือโปรตีนที่มากเกินไปเมื่อเต่าทานมากเกินไป อาจส่งผลให้เต่าอ้วน , เกิดการหนาตัวและมีสีคล้ำขึ้นที่เกล็ดหรือกระดองได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากอาหารเหล่านี้เน้นการให้อัตราการเจริญเติบโตที่สูง และบางผลิตภัณฑ์มีการเติมสารแต่งสีและวัตถุกันเสีย ซึ่งหากให้อาหารเหล่านี้ติดต่อกันนานเกินไป อาจจะทำให้เกิดโรคกับเต่าได้
o กรณีต้องการผสมอาหารเองให้กับเต่า >> เจ้าของควรคำนึงถึงความหลากหลายของอาหารที่นำมาผสมให้ทาน ร่วมถึงการเสริมวิตามิน เพื่อให้ได้รับสารอาหารสูงสุดและเจ้าของสามารถเสริมเมล็ดพืชประเภท Dandelions , Alfalfa หรืออาจนำมาผสมกับพืชอื่นๆได้ อาจจะหมักก่อนเพิ่มความน่ากินให้กับอาหาร
o องค์ประกอบของสารอาหารที่เต่าบกควรได้รับ ( คิดเป็น % )
โปรตีน 15-35 %
คาร์โบไฮเดรต รวมเส้นใย 55-75 %
ไขมัน น้อยกว่า 10 %
เส้นใยหยาบ 15-40 %
o การเลือกผลไม้ให้กับเต่า แนะนำไม่ควรให้ผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงมากเกินไป เช่น สับปะรด , มะม่วง เป็นต้น สามารถทำให้เกินแก๊สในทางอาหารอาหารมากขึ้นแล้ว อาจเป็นอันตรายต่อลำไส้ใหญ่ เนื่องจากกระตุ้นให้แบคทีเรียและโปรโตซัวเจริญมากขึ้น ส่งผลให้เกิดอาหารปวดท้อง ท้องเสียได้
• ตัวอย่างพืชผักที่ให้ในเต่าบก
ตัวอย่างอาหารที่สามารถให้เต่าบกทานได้
Mulberry (ใบและลูกหม่อน),IVy gourd (ใบตำลึง),Carrot (แครอท),Grain (เมล็ดถั่ว,ธัญพืช),Pumpkin (ฟักทอง),Pangola (หญ้าแพงโกล่า),Morning Glory (ผักบุ้ง), Timothy (หญ้าทิมโมธี), Bok choy (ผักกวางตุ้ง), Apple (แอปเปิ้ล), Papaya (มะละกอ), Cucumber (แตงกวา)
อาหารที่ไม่ควรให้เต่าบกทาน
Broccoli (บร็อคโคลี่) Brussels sprouts(บรัสเซลส์) Cauliflower(ดอกกะหล่ำ)
Watercres(วอเตอร์เครส), Mustard greens(มัสตาร์ดกรีน), Kale(ผักคะน้า), Rutabaga (รูตาบากา) ,Collard greens (ผักกาดเขียว), Kohlrabi (โคลราบี),Arugula (อารูกุลา), White Radishes (หัวไชเท้า),Savoy Cabbage (กะหล่ำปลีซาโว), Red Cabbage (กะหล่ำปลีแดง), Broccolini (บร็อคโคลีนี),Cabbage (กะหล่ำปลี)
หากเจ้าของท่านใดมีสัตว์เลี้ยงเอ็กโซติกต้องการเข้ารับการรักษา หรือต้องการตรวจสุขภาพกับคุณหมอเฉพาะทาง สามารถพาน้องๆเข้ามาตรวจที่คลินิกสัตว์เอ็กโซติกแนะนำให้แอดไลน์หรือโทรเข้ามาเพื่อจองคิวล่วงหน้าได้เลยนะคะ
#คลินิกสัตว์เอ็กโซติก #โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท #iVEThospital #โรงพยาบาลสัตว์24ชั่วโมง
----------------------------
โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท เปิดบริการ 24 ชม.
ตอบทุกปัญหาเรื่องสัตว์เลี้ยง..จากสัตวแพทย์โดยตรง
Line : @ivethospital >> http://bit.ly/2UHSsXK
Hotline : 085-244-7899
Website : www.ivethospital.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้