อเมริกันช็อตแฮร์
ยกให้เป็นเจ้าเหมียวอันดับหนึ่ง ที่ครองใจใครหลาย ๆ คน ด้วยหน้าตากลม ๆ ดูน่ารัก ร่าเริงขี้เล่น เข้ากับคนได้ดี เลี้ยงกับแมวสายพันธุ์อื่น ๆ ได้ไม่มีปัญหาค่ะ และยังเป็นนักล่าหน้าหยกอีกด้วย เรื่องกำหนดหนูต้องยกให้เขาเลย! ในส่วนของเรื่องโรคที่ต้องระวังให้มาก ๆ มีอยู่ด้วยกัน 2 โรคหลัก ๆ ที่คุณแม่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
.
โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ (Hypertrophic Cardiomyopathy)
เห็นน้อง ‘ซึม ๆ ดูอ่อนเพลีย ทานอาหารน้อยลง หายใจสั้นติดขัด และมีเสียงผิดปกติ อุ้งเท้าและฐานเล็บเปลี่ยนสี’ ขอให้พึงระวัง ‘โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาติดปกติ’ เอาไว้เป็นอันดับแรก! เพราะในบางกรณี เจ้าเหมียวเองก็ไม่แสดงอาการผิดปกติใดใด ทำให้การตรวจหาโรคนี้ ทำได้ค่อนข้างยาก โดย ‘โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ’ เป็นผลมาจากการทำงานผิดปกติของหัวใจห้องล่างซ้าย ซึ่งอาจพบน้ำในเยื่อหุ้มปอด หรือในช่องท้องร่วมด้วย อาจส่งผลให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และทำให้เกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้ด้วยค่ะ
.
โรคอ้วน (Obesity)
‘น้องแมวอวบอ้วน น่ารักจะตายไป!’ แต่สำหรับโรคอ้วนในแมว คงไม่ดีต่อสุขภาพเจ้าตัวสักเท่าไหร่นะคะ ในปัจจุบันพบว่าแมวที่มาโรงพยาบาลกว่าร้อยละ 30 เป็นน้องแมวที่มีน้ำหนักตัวสูงกว่าเกณฑ์ปกติประมาณ 15% ซึ่งบอกได้ทันทีว่า เจ้าเหมียวกำลังประสบปัญหาโรคอ้วนอยู่นะจ๊ะ! ซึ่งโรคอ้วนนี้ ส่งผลกระทบไปยังปัญหาเรื่องข้อต่อต่าง ๆ การหายใจลำบาก และภาวะความดันในเส้นเลือดสูง อันนำไปสู่ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ อาจทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคผิวหนังได้ง่ายกว่าในน้องเหมียวที่มีสุขภาพดีถึงร้อยละ 40 ! เห็นไหมคะว่าอ้วน ๆ ดูน่ารัก กลับนำพาโรคอันตรายมานับสิบ!
มันช์กิ้น
เจ้าแมวขาสั้น ลำตัวอ้วนตุ้ย หน้าตาน่ารัก หูพับ ตากลม เป็นแมวที่มีความมั่นใจในเรียวขาสั้น ๆ ของตัวเอง มันช์กิ้นชอบเล่นปลุกปล้ำ ใช้กำลังแรง ๆ (ก็แบบว่าหมั่นเขี้ยว!) ขี้เล่น และชอบแกล้ง นอกจากนี้ เจ้าเหมียวมันช์กิ้น ยังมีสัญชาตญาณของความเป็นนักล่าด้วยนะ! เมื่อถึงเวลาจะออดอ้อนก็เต็มที่สุด ๆ ชอบส่งเสียงร้องโหยหวน จะร้องจนกว่าเจ้าของจะยอมเล่นด้วย (ร้ายกาจใช่เล่นนะ)
.
เห็นขี้เล่นแบบนี้ พอป่วยขึ้นมาที ก็พาลกังวลไปกันหมด! วันนี้ เราขอแนะนำโรคติดตัวของเจ้ามันช์กิ้น ที่คุณแม่ต้องรู้ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคกันเถอะค่ะ
.
ภาวะกระดูกสันหลังผิดปกติ (Lordosis)
การเกิดภาวะกระดูกสันหลังผิดปกติตั้งแต่กำเนิด มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมนั่นเองค่ะ น้องเหมียวจะแสดงออกถึงความทรมานในการเคลื่อนไหวและมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตด้วย โดยพบว่ากระดูกสันหลังแคบลง หรือถูกบีบอัด โรคนี้สามารถทำการวินิจฉัยด้วยการ x-ray รวมกับการทำ MRI ร่วมกัน สำหรับการรักษานั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของปัญหากระดูกสันหลังของเจ้าเหมียว หากพบว่าน้องเริ่มมีอาการุนแรง คุณหมออาจแนะนำวิธีการผ่าตัดเพื่อรักษาน้องเหมียวแทนค่ะ
.
ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (Hyperthyroidism)
ปกติแล้วไทรอยด์ฮอร์โมนมีหน้าที่เพิ่มกระบวนการเผาผลาญภายในเซลล์ของร่างกาย แต่หากเกิดภาวะที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนในปริมาณมากเกินไป จะทำให้เซลล์ร่างกายทำงานเกินปกติในการเผาผลาญพลังงานนั่นเองค่ะ
.
หากคุณแม่พบว่าเจ้าเหมียวมีน้ำหนักลดลง มีอาการกระสับกระส่าย และมีภาวะท้องเสียร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ดุร้ายมากขึ้น ทานเยอะผิดปกติ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ได้ยินเสียงหัวใจเต้นรัวผิดปกติ หัวใจเต้นรัว เป็นต้น เราก็ขอให้รีบนำน้องไปหาคุณหมอทันทีนะคะ
.
ภาวะตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
สาเหตุของการเกิดภาวะตับอ่อนอักเสบ มาจากการอักเสบของอวัยวะข้างเคียง เช่น ลำไส้เล็ก ระบบตับร่วมกับถุงน้ำดีและตับอ่อน การติดเชื้อ การกระทบกระแทก เป็นต้น ซึ่งอาการที่พบได้มากคือ ซึม ไม่ทานอาหาร อาเจียน น้ำหนักลดลง โดยการวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยการใช้ชุดตรวจ เพื่อตรวจหาระดับเอนไซม์ที่ไหลรั่วในเลือด หรือที่เรียกว่า Feline Pancreatic Lipase (FPL) ซึ่งชุดตรวจนี้จะสามารถบอกแนวโน้มการเกิดภาวะตับอ่อนอักเสบในแมวได้ค่ะ
อเมริกันช็อตแฮร์
ยกให้เป็นเจ้าเหมียวอันดับหนึ่ง ที่ครองใจใครหลาย ๆ คน ด้วยหน้าตากลม ๆ ดูน่ารัก ร่าเริงขี้เล่น เข้ากับคนได้ดี เลี้ยงกับแมวสายพันธุ์อื่น ๆ ได้ไม่มีปัญหาค่ะ และยังเป็นนักล่าหน้าหยกอีกด้วย เรื่องกำหนดหนูต้องยกให้เขาเลย! ในส่วนของเรื่องโรคที่ต้องระวังให้มาก ๆ มีอยู่ด้วยกัน 2 โรคหลัก ๆ ที่คุณแม่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
.
โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ (Hypertrophic Cardiomyopathy)
เห็นน้อง ‘ซึม ๆ ดูอ่อนเพลีย ทานอาหารน้อยลง หายใจสั้นติดขัด และมีเสียงผิดปกติ อุ้งเท้าและฐานเล็บเปลี่ยนสี’ ขอให้พึงระวัง ‘โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาติดปกติ’ เอาไว้เป็นอันดับแรก! เพราะในบางกรณี เจ้าเหมียวเองก็ไม่แสดงอาการผิดปกติใดใด ทำให้การตรวจหาโรคนี้ ทำได้ค่อนข้างยาก โดย ‘โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ’ เป็นผลมาจากการทำงานผิดปกติของหัวใจห้องล่างซ้าย ซึ่งอาจพบน้ำในเยื่อหุ้มปอด หรือในช่องท้องร่วมด้วย อาจส่งผลให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และทำให้เกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้ด้วยค่ะ
.
โรคอ้วน (Obesity)
‘น้องแมวอวบอ้วน น่ารักจะตายไป!’ แต่สำหรับโรคอ้วนในแมว คงไม่ดีต่อสุขภาพเจ้าตัวสักเท่าไหร่นะคะ ในปัจจุบันพบว่าแมวที่มาโรงพยาบาลกว่าร้อยละ 30 เป็นน้องแมวที่มีน้ำหนักตัวสูงกว่าเกณฑ์ปกติประมาณ 15% ซึ่งบอกได้ทันทีว่า เจ้าเหมียวกำลังประสบปัญหาโรคอ้วนอยู่นะจ๊ะ! ซึ่งโรคอ้วนนี้ ส่งผลกระทบไปยังปัญหาเรื่องข้อต่อต่าง ๆ การหายใจลำบาก และภาวะความดันในเส้นเลือดสูง อันนำไปสู่ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ อาจทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคผิวหนังได้ง่ายกว่าในน้องเหมียวที่มีสุขภาพดีถึงร้อยละ 40 ! เห็นไหมคะว่าอ้วน ๆ ดูน่ารัก กลับนำพาโรคอันตรายมานับสิบ!
.
-----------------------------------
โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท เปิดบริการ 24 ชม.
ตอบทุกปัญหาเรื่องสัตว์เลี้ยง..จากสัตวแพทย์โดยตรง
Line : @ivethospital >> http://bit.ly/2UHSsXK
Hotline : 085-244-7899
Website : www.ivethospital.com
โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ทมีทั้งหมด 4 สาขา
สาขาพระราม 9 แผนที่ : http://bit.ly/2DiS1Zp
สาขา West Centre ( ศาลายา ) แผนที่ : http://bit.ly/2V24xqq
สาขาเวียงจันทร์ ( ลาว ) แผนที่ http://bit.ly/2Zcxtex
สาขาฮานอย ( เวียดนาม ) แผนที่ : http://bit.ly/2DjfBoP
.