“เมื่อแมวกินเข็มเข้าไป คุณหมอจะทำอย่างไรกับเข็มเจ้าปัญหา”

8972 จำนวนผู้เข้าชม  | 

“เมื่อแมวกินเข็มเข้าไป คุณหมอจะทำอย่างไรกับเข็มเจ้าปัญหา”

 


                นัลลา แมวเปอร์เซีย เพศ ผู้ อายุ 5 ปี มีประวัติทำวัคซีนครบ ถูกพาเข้ามาที่  เพราะเจ้าของสงสัยว่านัลลาอาจจะกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดคอ ปกตินัลลามีนิสัยชอบกัดแทะสิ่งของเป็นประจำ ก่อนหน้านี้เจ้าของเคยพบว่านัลลาพยายามจะกินถุงพลาสติกเข้าไป นัลลา แสดงอาการพยายามขาก, ขย้อน แต่ไม่มีอะไรออกมาตั้งแต่ตอนเที่ยงของวันนั้นจนตอนกลางคืนก็ยังไม่หาย เจ้าของพยายามเปิดปากจะเอาสิ่งแปลกปลอมออกให้ตั้งแต่ตอนกลางวันแล้วแต่แมวไม่ยอม (ปกตินัลลาจะมีนิสัยก้าวร้าว)  เจ้าของที่เห็นอาการตั้งแต่ตอนกลางวันก็ยังไม่แน่ใจว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมชนิดไหน ทราบแต่ว่ามีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ

เมื่อนัลลามาถึงมือหมอ

                สัตวแพทย์ทำการตรวจร่างกาย นัลลาค่อนข้างซึม สัญญาณชีพโดยทั่วไปยังปกติ เว้นแต่เริ่มมีไข้ต่ำ ๆ สัตวแพทย์และผู้ช่วยสัตวแพทย์ช่วยกันจับประคองนัลลาเพื่อเปิดปากหาสิ่งแปลกปลอมที่กินเข้าไป  เมื่อส่องไฟเข้าไปก็พบว่า มีเข็มเย็บผ้าติดอยู่ที่เพดานอ่อนของน้องนัลลา สัตวแพทย์จึงคีบเข็มเย็บผ้าออกมา จากนั้น จึงฉีดยาลดไข้แก้อักเสบ และยาปฏิชีวนะให้ หลังจากที่คีบเข็มออกมาได้ นัลลาตัวเดิมที่เคยร่าเริงก็กลับคืนสดชื่นสดใสดังเดิม  สัตวแพทย์จึงจ่ายยากลับไปให้เจ้าของป้อนต่อที่บ้านและสังเกตุอาการ ให้เจ้าของจัดการเก็บเข็ม, พลาสติก สิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต

ข้อแนะนำ

                น้องนัลลาโชคดีที่เข็มยังติดอยู่ที่เพดานปาก ยังไม่กลืนลงท้อง หากแมวกลืนเข็มลงไปแล้ว สัตวแพทย์ก็คงไม่สามารถเห็นได้จากการเปิดปากดู อีกทั้งนัลลายังให้ความร่วมมือในการเปิดปากและคีบสิ่งแปลกปลอมออก สัตวแพทย์จึงสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องอาศัยการวางยาสลบ หากแมวกลืนเข็มลงไปแล้วก็จำเป็นต้องใช้การ X ray เข้ามาช่วยในการวินิจฉัย และต้องอาศัยการผ่าตัดเพื่อช่วยนำเช็มและด้ายออกมา

                แมวกินเข็มและด้าย เป็นเคสที่พบได้บ่อยพอควร ดังนั้น เจ้าของแมวทุกคนควรตระหนักถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อแมวที่น่ารักของเรา ไม่ใช่แค่เพียง เข็มและด้าย, ถุงพลาสติก เท่านั้น เจ้าของควรเก็บสิ่งที่อาจทำอันตรายต่อแมวอย่างมิดชิด เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งเหล่านั้น ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าต้องมาแก้ไขภายหลัง เพราะไม่ใช่แมวทุกตัวจะโชคดีแบบน้องนัลลา

เรื่องและภาพโดย

สพญ เบญจมาภรณ์ โชติรัตนะศิริ

สัตวแพทย์ผู้ทำการรักษา

 


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้