6782 จำนวนผู้เข้าชม |
ริช เป็นแมวเพศผู้ พันธุ์ British shorthair อายุ 3 เดือน เดินทางมาจาก ซาปา (SA PA) เวียดนามเหนือ ซึ่งห่างจากโรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ทสาขาฮานอย ประมาณ 360 กิโลเมตร เพื่อเข้ามารับการรักษา น้อง ริช มาด้วยอาการ ถ่ายเหลวเป็นน้ำ สีเหลืองปนมูก มาเป็นเวลา 5-6 วัน และกินอาหารได้ลดลง แต่แมวร่าเริงดี กินอาหารได้ดี ซึ่งก่อนหน้านี้เคยทำวัคซีนไปแค่ 1 เข็ม และมีแมวที่บ้านที่เลี้ยงด้วยกันก็มีอาการเช่นเดียวกันแล้วตายไป
หาคำตอบได้ที่นี่สิ่งที่ทำให้ ริช และพี่น้องต้องล้มป่วยตามกัน
เมื่อถึงห้องตรวจร่างกาย ริช ยังคงมีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ สีเหลืองมีเลือดปนมูกเล็กน้อย แต่น้องยังมีอาการร่าเริงดี ลองวางน้ำและอาหารให้น้องสามารถกินเองได้ สัตวแพทย์จึงได้ทำการเก็บตัวอย่างอุจจาระไปตรวจโดยการส่องกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งพบการติดเชื้อของกลุ่มแบคทีเรียปริมาณเยอะมาก และโปรโตชัว (Giardia spp.) ซึ่งเป็นตัวสำคัญที่ส่งผลทำให้แมวเกิดอาการถ่ายเหลวรุนแรง จากประวัติแมว ริช เป็นลูกแมวที่ยังเคยทำวัคซีนไป เพียงแค่ 1 เข็ม ซึ่งก็ยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส Feline parvovirus หรือที่เรียกกันว่า โรคไข้หัดแมว และโรคไวรัสอื่น ๆ เช่น โรคไข้หวัดแมว ซึ่งจำเป็นต้องกักตัวรักษาในห้องสัตว์ติดเชื้อ เพื่อสังเกตอาการ และควบคุมโรคไม่ให้แพร่กระจาย ซึ่งผลการตรวจเลือดพบว่าแมว ริช มีภาวะโลหิตจาง เป็นภาวะที่พบได้ในลูกแมวที่อายุน้อย เนื่องจากไขกระดูกยังทำงานได้ไม่เต็มที่
เหนื่อยพัก มาพักกายใจที่ไอเว็ท
เนื่องจากผลการตรวจอุจจาระเบื้องต้นพบการติดเชื้อในทางเดินอาหารหลายชนิด จึงจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรียและลดจำนวนโปรโตชัวในระบบทางเดินอาหาร พร้อมกันนั้นจ่ายยาถ่ายพยาธิช่วยในการกำจัดพยาธิภายในระบบทางเดินอาหาร ในแต่ละวันจะมีการประเมินให้คะแนนความอ่อนแข็งของอุจจาระทุกวัน และคอยสังเกตการขับถ่าย และอาการประเมินสภาพร่างกายวันต่อวัน นอกจากนี้ยังได้เสริมยากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเพื่อให้ร่างกายกลับมาฟื้นฟูได้ดีขึ้น
หลังจากการรักษาอยู่ที่หน่วยสัตว์ป่วยใน 1 สัปดาห์ ริช ก็กลับมามีสภาพร่างกายแข็งแรง ร่าเริง กินอาหารได้ดี ไม่มีอาการถ่ายเหลว และก่อนที่เจ้าของจะมารับแมวกลับได้มีการแนะนำเรื่องทำความสะอาดบริเวณที่แมวอยู่อาศัยให้สะอาด โดยใช้น้ำยาฟอกขาวทำความสะอาดและปล่อยให้แห้ง ทิ้งไว้ 2-3 วัน และแนะนำเรื่องการวางโปรแกรมวัคซีนในลูกแมวเบื้องต้น ร่วมกับการเน้นย้ำการกระตุ้นวัคซีนประจำปี ร่วมการถ่ายพยาธิทุกๆ 1-2 เดือน
เจ้าริช กลับมาร่าเริงกลายเป็นลูกแมวปกติที่เหมือนไม่ป่วยมาก่อน เดินทางกลับซาปาด้วยสุขภาพที่แข็งแรง
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
Giardia spp. คือ โปรโตซัวชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ ซึ่งถ้าน้องแมวได้รับโปรโตซัวชนิดนี้ จากการกินอาหาร น้ำ ที่ปนเปื้อนอุจจาระ กินอุจจาระไปโดยตรง หรือ ใช้ภาชนะ สิ่งของร่วมกันที่มีการปนเปื้อน และการเลี้ยงสัตว์ที่ขาดสุขอนามัย ก็อาจจะส่งผลให้น้องแมวมีอาการถ่ายเหลวปนเมือก และถ้าไม่ได้รับการตรวจรักษาอย่างทันที อาจจะส่งผลให้น้องแมวหรือสัตว์ของท่านเสียชีวิตลงได้
ลูกสัตว์ที่เพิ่งได้รับมาเลี้ยงใหม่ ที่ยังไม่เคยทำวัคซีนหรือยังทำไม่ครบ จะต้องมีการจำกัดบริเวณ อย่างน้อย 10-14 วัน ก่อนที่จะเริ่มโปรแกรมวัคซีน เพื่อให้น้องได้มีการปรับสภาพ ปรับตัวกับสิ่งแวด ล้อมใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเครียด ให้อยู่ในบ้านหรือสถานที่เลี้ยงที่ไม่พบกับสัตว์ตัวอื่น ๆ เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์ มีโอกาสเสี่ยงจะติดเชื้อได้ง่าย