ศูนย์การแพทย์เฉพาะด้านระบบสืบพันธุ์

20842 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ศูนย์การแพทย์เฉพาะด้านระบบสืบพันธุ์

โดยปกติแล้ว สุนัขเพศเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 6- 24 เดือน (อายุเฉลี่ยคือ 9-10 เดือน) แตกต่างกันไปในสุนัขแต่ละสายพันธุ์ พบว่าสุนัขสายพันธ์เล็กจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วกว่าสุนัขพันธุ์ใหญ่ และพบว่าสุนัขเพศเมียสามารถเป็นสัดได้ตลอดชีวิต เพียงแต่ความสามารถในการสืบพันธ์อาจจะลดลงตามอายุ ส่วนในสุนัขเพศผู้นั้นจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 6-12 เดือน (อายุเฉลี่ยคือ 9-12 เดือน) แตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์เช่นกันค่ะ

เมื่อสุนัขเริ่มเข้าสู่วัยเป็นหนุ่มเป็นสาว สิ่งที่เจ้าของเริ่มให้ความสนในจะมุ่งประเด็นไปที่การสืบพันธุ์ของสุนัข เจ้าของบางส่วนต้องการให้สุนัขของตนเองมีลูกหลานสืบไป ในขณะที่เจ้าของบางส่วนไม่ต้องการให้สุนัขของตนเองมีลูกหลาน นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดกับระบบสืบพันธุ์ทั้งของสุนัขเพศผู้และเพศเมียอีกด้วย และเมื่ออายุของสุนัขเริ่มมากขึ้นก็จะมีโรคทางระบบสืบพันธุ์ที่มากับอายุ ซึ่งโรคบางโรคสามารถป้องกันก่อนที่จะเกิดขึ้นมาได้ ดังนั้นการพาสุนัขไปตรวจร่างกายและพบสัตวแพทย์เป็นประจำจึงเป็นหนทางที่จะช่วยชะลอหรือช่วยไม่ให้เกิดโรคเหล่านั้นได้ค่ะ
ขอบเขตของการให้บริการ
1. การตรวจสุขภาพ นอกจากการตรวจสุขภาพทั่วไป การทำวัคซีน การถ่ายพยาธิ การตรวจทางระบบสืบพันธุ์ก็จำเป็นเมื่อสุนัขเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มสาว เช่น สุนัขเพศผู้มีอัณฑะลงถุงทั้งสองข้างเมื่ออายุถึงวัยเจริญพันธุ์ การรีดน้ำเชื้อมาตรวจคุณภาพน้ำเชื้อเพื่อประเมินความพร้อมก่อนที่จะนำสุนัขไปผสม หรือรีดน้ำเชื้อเพื่อการวินิจฉัยโรค เป็นต้น เช่นเดียวกันในสุนัขเพศเมียที่จะแสดงออกทางพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะสืบพันธุ์ กรณีสุนัขเพศเมียอยู่ในช่วงก่อนเป็นสัด (Proestrus) อวัยวะเพศจะมีการขยายขนาดขึ้น มีสิ่งคัดหลั่งออกมาจากช่องคลอด โดยสิ่งคัดหลั่งนั้นอาจจะเป็นเลือด หรือเมือกใสปนเลือด ในระยะนี้สุนัขเพศเมียจะยังไม่ยอมให้สุนัขเพศผู้มาผสม แต่จะแสดงพฤติกรรมยอมให้สุนัขเพศผู้ผสมพันธุ์ เช่นเบี่ยงหางไปด้านข้าง ก็ต่อเมื่อสุนัขเพศเมียเข้าสู่ระยะสัด (Estrus) เท่านั้น
 
2. เซลล์วิทยา(cytology) หรือการตรวจการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผนังเยื่อบุช่องคลอด เพื่อประเมินว่าสุนัขเพศเมียที่เจริญพันธุ์แล้วอยู่ในระยะใดของวงรอบการเป็นสัด เพื่อคาดคะเนระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะให้สัตว์ผสมพันธุ์และตั้งท้อง ส่วนในสุนัขเพศผู้นั้นจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 6-12 เดือน (อายุเฉลี่ยคือ 9-12 เดือน) แตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์เช่นกันค่ะ
เมื่อสุนัขเริ่มเข้าสู่วัยเป็นหนุ่มเป็นสาว สิ่งที่เจ้าของเริ่มให้ความสนในจะมุ่งประเด็นไปที่การสืบพันธุ์ของสุนัข เจ้าของบางส่วนต้องการให้สุนัขของตนเองมีลูกหลานสืบไป ในขณะที่เจ้าของบางส่วนไม่ต้องการให้สุนัขของตนเองมีลูกหลาน นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดกับระบบสืบพันธุ์ทั้งของสุนัขเพศผู้และเพศเมียอีกด้วย และเมื่ออายุของสุนัขเริ่มมากขึ้นก็จะมีโรคทางระบบสืบพันธุ์ที่มากับอายุ ซึ่งโรคบางโรคสามารถป้องกันก่อนที่จะเกิดขึ้นมาได้ ดังนั้นการพาสุนัขไปตรวจร่างกายและพบสัตวแพทย์เป็นประจำจึงเป็นหนทางที่จะช่วยชะลอหรือช่วยไม่ให้เกิดโรคเหล่านั้นได้ค่ะ
ขอบเขตของการให้บริการ
1. การตรวจสุขภาพ นอกจากการตรวจสุขภาพทั่วไป การทำวัคซีน การถ่ายพยาธิ การตรวจทางระบบสืบพันธุ์ก็จำเป็นเมื่อสุนัขเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มสาว เช่น สุนัขเพศผู้มีอัณฑะลงถุงทั้งสองข้างเมื่ออายุถึงวัยเจริญพันธุ์ การรีดน้ำเชื้อมาตรวจคุณภาพน้ำเชื้อเพื่อประเมินความพร้อมก่อนที่จะนำสุนัขไปผสม หรือรีดน้ำเชื้อเพื่อการวินิจฉัยโรค เป็นต้น เช่นเดียวกันในสุนัขเพศเมียที่จะแสดงออกทางพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะสืบพันธุ์ กรณีสุนัขเพศเมียอยู่ในช่วงก่อนเป็นสัด (Proestrus) อวัยวะเพศจะมีการขยายขนาดขึ้น มีสิ่งคัดหลั่งออกมาจากช่องคลอด โดยสิ่งคัดหลั่งนั้นอาจจะเป็นเลือด หรือเมือกใสปนเลือด ในระยะนี้สุนัขเพศเมียจะยังไม่ยอมให้สุนัขเพศผู้มาผสม แต่จะแสดงพฤติกรรมยอมให้สุนัขเพศผู้ผสมพันธุ์ เช่นเบี่ยงหางไปด้านข้าง ก็ต่อเมื่อสุนัขเพศเมียเข้าสู่ระยะสัด (Estrus) เท่านั้น
 
2. เซลล์วิทยา(cytology) หรือการตรวจการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผนังเยื่อบุช่องคลอด เพื่อประเมินว่าสุนัขเพศเมียที่เจริญพันธุ์แล้วอยู่ในระยะใดของวงรอบการเป็นสัด เพื่อคาดคะเนระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะให้สัตว์ผสมพันธุ์และตั้งท้อ   
                

นอกจากนี้การตรวจเซลล์วิทยายังสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรค Venereal granuloma ที่เป็นโรคติดต่อทางระบบสืบพันธุ์ได้อีกด้วย โดยลักษณะเซลล์ที่เห็นจะเป็นเซลล์มีขนาดใหญ่รูปร่างกลมหรือรี (round or oval cells) Nucleus:Cytoplasm ratio น้อย นิวเคลียสกลมและเส้นใยโครมาตินในนิวเคลียสเกาะกลุ่มกัน (coarse to clumped chromatin) นิวคลีโอลัสเด่นชัดและมักพบหนึ่งถึงสองอัน cytoplasm มีสีน้ำเงินและมักพบ clear cytoplasmic granules ภายใน cytoplasm ด้วย
         
3. การตรวจการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งวิธีนี้สามารถทำนายวันตกไข่และวันที่พร้อมในการผสมเพียงครั้งเดียวได้

4. รังสีวินิจฉัย(Radiography) รังสีเอ็กซ์เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค หรือ ช่วยให้หาสาเหตุของโรคได้ เช่น ในรายที่สงสัยว่าสุนัขนั้นตั้งท้อง การใช้รังสีวินิจฉัยสามารถบ่งบอกการตั้งท้องได้เมื่อสุนัขนั้นมีการตั้งท้อง 45 วันเป็นต้นไป ซึ่งมีความแม่นยำในการระบุการท้องถึง 100 % และสามารถบอกจำนวนของลุกที่อยู่ในท้องได้ หรือใช้รังสีเป็นเครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยโรคมดลูกเป็นหนองได้เช่นกัน นอกจากนี้ในเพศผู้สามารถใช้รังสีวินิจฉัยเพื่อบ่งบอกขนาดของต่อมลูกหมากว่ามีขนาดที่ปกติหรือไม่ แต่วิธีนี้มีโอกาสที่จะมองไม่เห็นต่อมลูกหมากในฟิล์มได้


5. อัลตราซาวด์ (Ultrasonography) ก็เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคทางระบบสืบพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นการวินิจฉัยการตั้งท้อง ซึ่งวิธีนี้มีความแม่นยำสูง สามารถบ่งบอกอัตราการเต้นของหัวใจลูกได้ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าลูกมีจำนวนทั้งหมดกี่ตัว สามารถช่วยวินิจฉัยรายสุนัขเพศเมียมีภาวะมดลูกเป็นหนองได้ด้วย นอกจากนี้ยังช่วยในการวินิจฉัยสุนัขเพศผู้ในรายต่อมลูกหมากโตได้ด้วย ซึ่งการวินิจฉัยด้วยอัลตราซาวด์จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญในการวินิจฉัย

 
การรักษา
1. การรักษาทางยา ในรายที่สามารถรักษาทางยาแล้วอาการผิดปกติที่แสดงนั้นหายไป หรือในรายที่ไม่สามารถรักษาทางการผ่าตัดได้
2. การรักษาโดยการผ่าตัด ในรายที่ไม่สามารถรักษาทางยาให้หายขาดได้ หรือในรายที่ต้องการป้องกันการเกิดโรค เช่น การทำหมันซึ่งสามารถลดหรือป้องกันโอกาสการเกิดโรคบางโรคได้ เช่นในเพศผู้ เมื่อทำหมันในเวลาที่เหมาะสม ก็สามารถป้องกันการเกิดโรคต่อมลูกหมากโตได้ และลดโอกาสการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ส่วนในเพศเมียการทำหมันก็ลดโอกาสการผสมพันธุ์ซึ่งจะนำมาซึ่งโรคติดต่อทางระบบสืบพันธุ์เช่น veneraeal granuloma หรือลดโอกาสตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ เป็นต้น หรือการผ่าตัดเพื่อรักษาโรค เช่น การผ่าตัดรักษามดลูกเป็นหนอง เป็นต้น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้