มาตราฐาน Cat Friendly Clinic โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท

2509 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มาตราฐาน Cat Friendly Clinic โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท

Cat Friendly Clinic โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท - ivet Animal hospital
ได้รับการรับรองให้เป็น Cat Friendly Clinic คลินิกรักษาโรคแมวระดับ GOLD CERTIFICATE จากประเทศอังกฤษ
ซึ่งให้บริการรักษาโรคแมวโดยเฉพาะ และดูแลสุขภาพน้องแมวครบวงจร



รับแมวกลับบ้านหลังจากรักษาเสร็จ

แมวที่เพิ่งฟื้นจากการดมยาสลบ อาจจะยังมีอาการ มึน งง ไม่ค่อยขยับตัว และอาจจะยังทรงตัวเป็นปกติไม่ได้
แมวบางตัวอาจจะมีความตื่นกลัว ให้พูดกับแมวและสัมผัสแมวอย่างนุ่มนวล
หากพบว่าแมวพยายามเลียหรือกัดแทะบริเวณแผล ควรแจ้งสัตวแพทย์และสวมใส่ปลอกคอกันเลีย (collar) ทันที
หากพบว่าแผลดูผิดปกติ บวมหรือแดงกว่าปกติ มีสิ่งคัดหลั่งไหลออกจากแผล หรือหากพบว่าแมวยังดูฟื้นตัวได้ไม่ดี และมีข้อสงสัยอื่นๆเพิ่มเติม ควรโทรติดต่อกลับเพื่อปรึกษาสัตวแพทย์ 
เจ้าของแมวส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าแมวกำลังแสดงอาการเจ็บปวดอยู่ ซึ่งสังเกตพบได้จากอาการเหล่านี้ เช่น เบื่ออาหาร หลบหรือซ่อนตัว ควรติดต่อสัตวแพทย์ถ้าหากเกิดความกังวล
จำกัดบริเวณให้แมวพักอยู่แต่ในบ้านเท่านั้นหลังจากกลับจากโรงพยาบาล ไม่ควรปล่อยแมวออกนอกบ้าน
ควรจัดให้แมวอยู่ในจุดที่เงียบสงบและอบอุ่นที่สุดในบ้าน เพื่อให้แมวไม่ถูกรบกวนขณะที่ทำการพักผ่อน

การหยอดตาหรือใช้ยาป้ายตา

อุ้มแมวไว้ให้นิ่ง อาจให้เจ้าของอีกคนช่วยใช้ผ้าขนหนูห่อตัวแมวไว้
จับศีรษะของแมวและเงยหน้าให้สันจมูกชี้ขึ้น
ใช้ 2 นิ้ว เปิดเปลือกตาแมวเพื่อหยอดตา
หยอดตาหรือป้ายตาตามจำนวนที่สัตวแพทย์กำหนด
ปิดเปลือกตาและนวดที่เปลือกตาเบาๆเพื่อให้ยากระจายตัว

การหยอดหู

อุ้มแมวไว้ให้นิ่ง แล้วให้เจ้าของอีกคนช่วยใช้ผ้าขนหนูห่อตัวแมวไว้
เปิดใบหูด้านที่ต้องการหยอดยา ด้วยการเอียงศีรษะแมวด้านที่หยอดยาขึ้นเล็กน้อย
หยอดยาตามจำนวนหยดที่สัตวแพทย์กำหนดลงไปในช่องหู จับศีรษะและหูของแมวให้แน่นเพื่อไม่ให้แมวสะบัดออก
นวดที่บริเวณโคนหรือกกหูเบาๆเพื่อให้ยาที่หยอดไปกระจายตัว

การหยอดยาบนผิวหนัง

อ่านคำแนะนำให้ละเอียด ยาบางชนิดอาจจะใช้บนตำแหน่งของลำตัวที่แตกต่างกัน
ถ้าแมวดิ้นไปมาหรือพยายามหนี ใช้ผ้าขนหนูช่วยจับและห่อตัวแมวไว้ แล้วให้เจ้าของอีกคนช่วยหยอดยาให้แทน
แหวกขนตรงบริเวณหลังคอให้เห็นผิวหนังชัดเจน
หยอดยาลงบนผิวหนัง พยายามหยอดลงบนผิวหนังให้ได้มากที่สุดและให้โดนเส้นขนน้อยที่สุด

ข้อควรระวัง ห้ามใช้ยาป้องกันเห็บหมัดของสุนัขกับแมวโดยเด็ดขาด เพราะยาบางชนิดอาจมีสารเพอร์เมทริน (permethrin) เข้มข้นที่อาจเป็นอันตรายต่อแมวได้ ควรสอบถามสัตวแพทย์ก่อนเสมอ

การป้อนยาเม็ด

ใช้มือ แขน และลำตัวเพื่อให้แมวอยู่นิ่ง 
จับศีรษะแมวให้แน่นแต่ต้องเบามือ ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้วางไว้ที่ตำแหน่งมุมปากแต่ละข้างของแมว เพื่อช่วยให้ควบคุมศีรษะแมวได้
เอียงศีรษะแมวให้จมูกชี้ขึ้น
เปิดปากแล้วใช้นิ้วดันฟันซี่เล็กๆที่ด้านหน้าของขากรรไกรล่างลง
ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ในการป้อนยา ดันยาเข้าไปในส่วนด้านหลังของช่องปากให้เร็วที่สุด แล้วปล่อยมือที่จับศีรษะแมวเพื่อให้แมวกลืนยาได้
เคล็ดลับคือต้องเอายาเข้าไปในช่องปากให้ลึกที่สุด (ที่ตำแหน่งโคนลิ้น) เพื่อแมวจะได้กลืนยาและไม่คายออกมา
สามารถใช้ที่ป้อนยาแมวได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเอานิ้วเข้าไปในปากแมว
ให้อาหารหรือน้ำในปริมาณเล็กน้อยหลังจากที่ให้ยาแล้ว

 

ยาเม็ดสามารถให้ในอาหารได้หรือไม่ 

สามารถให้ในอาหารได้

อาจใช้วิธีซ่อนยาในอาหารในปริมาณที่เล็กน้อยหรือบดผสมกับอาหารเพื่อให้ง่ายต่อการให้ยา ในปัจจุบันมียาเม็ดรุ่นใหม่ๆหลายชนิดที่ผลิตมาในรูปแบบเม็ดที่ทานได้ง่าย (palatable) ทำให้ป้อนได้ง่ายขึ้น แมวบางตัวอาจจะทานยาประเภทนี้เองได้โดยไม่ต้องบังคับป้อนกันเลย  ข้อควรระวัง ยาบางชนิดไม่สามารถบดหรือให้พร้อมกับอาหารได้ ควรสอบถามวิธีการป้อนยาแต่ละประเภทกับสัตวแพทย์ก่อนทุกครั้ง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้