15924 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคหัวใจในแมวนั้นปกติแล้วค่อนข้างจะตรวจวินิจฉัยยากจากการสังเกตอาการ จึงมัก ตรวจพบ แมวเป็นโรคหัวใจเมื่อแสดงอาการชัดเจนแล้ว ด้วยเหตุผลนี้การป้องกันและเฝ้าระวัง จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดก่อนที่จะป่วยหนักแล้วค่อยมาทำการรักษาหรือหากสามารถตรวจวินิจฉัยได้ก่อน ที่แมวจะแสดงอาการได้นั้นจะดีต่อคุณภาพชีวิตของแมว
1. ตรวจสุภาพสม่ำเสมอ เนื่องจากแมวที่มีปัญหาโรคหัวใจที่ยังไม่แสดงอาการจะดูปกติและเริ่มแสดงอาการ ใช้เวลา หลายเดือนถึงเป็นปี การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอโดยสัตวแพทย์อาจตรวจพบเสียงหัวใจ ผิดปกติ (Murmur) โดยบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจและวินิจฉัยแยกเสียงหัวใจที่ผิดปกติ (Murmur) มีแนวโน้ม เป็นโรคหัวใจชนิดใดเพื่อทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม ซึ่งหากตรวจพบได้เร็ว สัตวแพทย์สามารถให้คำแนะนำ วิธีการดูแลสุขภาพหัวใจได้
2. การป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ ซึ่งจะอาศัยในหลอดเลือดหัวใจและปอด ติดต่อผ่านการถูกยุงกัด ในแมวจึงสามารถติดพยาธิหนอนหัวใจได้เหมือนในสุนัข อาจพบอาการไอและ หายใจลำบาก บางครั้งอาจสับสนกับอาการหอบหืด (Asthma) หรือหลอดลมอักเสบได้ แต่การป้องกัน สามารถทำได้ง่ายมากเพียงใช้ยาหยดหลังทุกเดือนเพื่อฆ่าตัวอ่อนไม่ให้พัฒนาเป็นตัวแก่
3. เฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากพบแมวมีอาการอ่อนแรง หายใจถี่ ท้องกาง เหงือกม่วง หรือซีด ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วนเพราะอาการอยู่ในขั้นวิกฤติได้ บางครั้งแมวอาจมีพฤติกรรม หรืออารมณ์ เปลี่ยนแปลงไปซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกความไม่สบายตัว
4. เฝ้าระวังเป็นพิเศษในสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยง แมวสายพันธ์ที่มีความเสี่ยงเกิดการพัฒนาเป็นโรคหัวใจนั้นได้แก่ Maine Coons, AmericanShorthairs, Ragdolls, และ Persians หากเป็นแมวหนึ่งในสายพันธ์เหล่านี้ควรเฝ้าระวังสังเกตอาการอย่าง ใกล้ชิดและตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ
5. การเสริมทอรีนในอาหาร โดยส่วนใหญ่แล้วอาหารสำเร็จโดยทั่วไปมีการเสริมทอรีนในอาหาร เรียบร้อยแล้ว นอกจากเจ้าของให้อาหารเตรียมเองหรือเนื้อสดซึ่งมีโอกาสขาดทอรีนควรมีการเสริม ทอรีนให้เป็นประจำ โดยทอรีนเป็นกรดอมิโนที่มีความสำคัญต่อกล้ามเนื้อหัวใจ หากขาดกรดอมิโน ทอรีนนี้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางลง กล้ามเนือหัวใจอ่อนแรง